เมนู

4. อรรถกถาติสสาเถรีคาถา


คาถาว่า ติสฺเส สิกฺขสฺสุ สิกฺขาย เป็นต้น เป็นคาถาสำหรับ
นางสิกขมานาชื่อติสสา.
นางสิกขมานาชื่อติสสาแม้นี้ ก็สร้างสมบุญบารมีไว้ในพระพุทธเจ้า
องค์ก่อน ๆ สั่งสมกุศลที่เป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ เพราะ
กุศลที่ได้รวบรวมไว้เป็นปัจจัย จึงบังเกิดในศากยราชตระกูล กรุงกบิลพัสดุ์
ในพุทธุปปาทกาลนี้ เจริญวัยแล้วเป็นสนมของพระโพธิสัตว์ ภายหลังได้ออก
บวชพร้อมกับพระมหาปชาบดีโคตมี เจริญวิปัสสนา พระศาสดาทรงเปล่ง
พระรัศมีตามนัยที่กล่าวแล้วในหนหลัง ได้ภาษิตพระคาถาแก่พระเถรีนั้นว่า
ดูก่อนติสสา เธอจงศึกษาในไตรสิขา โยคะ
กิเลสเครื่องประกอบทั้งหลายอย่าได้ครอบงำ เธอ
จงพรากจากโยคะทั้งหมด เป็นผู้ไม่มีอาสวะเที่ยวไป
ในโลก

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ติสฺเส เป็นคำเรียกพระเถรีนั้น. บทว่า
สิกฺขสฺสุ สิกฺขาย ความว่า จงศึกษาในสิกขา 3 อย่างมีอธิสีลสิกขาเป็นต้น
คือจงยังสิกขา 3 ที่สัมปยุตด้วยมรรคให้ถึงพร้อม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
เหตุในการยังสิกขา 3 เหล่านั้นให้ถึงพร้อมในบัดนี้. บทว่า มา ตํ โยคา
อุปจฺจคุํ
ความว่า สมัยที่ควรประกอบเหล่านี้ คือ ความเป็นมนุษย์ ความ
ไม่บกพร่องแห่งอินทรีย์ ความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า ความได้ศรัทธา
อย่าล่วงเลยเธอไปเสีย อีกอย่างหนึ่ง โยคะ 4 มีกามโยคะเป็นต้นนั่นแหละ
อย่าเข้าใกล้ คืออย่าครอบงำเธอ บทว่า สพฺพโยควิสํยุตฺตา ความว่า

พ้นจากโยคะทั้งหมดมีกามโยคะเป็นต้น เพราะพ้นนั้นแหละ แต่นั้นจงเป็นผู้
ไม่มีอาสวะเที่ยวไปในโลก จงอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน.
นัยมีอาทิว่า พระเถรีนั้นฟังคาถานั้นแล้วเจริญวิปัสสนาบรรลุพระ-
อรหัต ดังนี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.
จบ อรรถกถาติสสาเถรีคาถา

5. อัญญตราติสสาเถรีคาถา


[506] ดูก่อนติสสา เธอจงประกอบด้วยธรรม
ทั้งหลาย ขณะอย่าได้ก้าวล่วงเธอไปเสีย เพราะผู้ที่มี
ขณะก้าวล่วงแล้ว ย่อมยัดเยียดกันอยู่ในนรกโศกเศร้า
อยู่.

จบ อัญญตราติสสาเถรีคาถา

6. ธีราเถรีคาถา


[407] ดูก่อนธีรา เธอจงถูกต้องนิโรธอันเป็นที่
สงบระงับสัญญา เป็นสุข เธอจงทำพระนิพพาน
อันเกษมจากโยคะยอดเยี่ยมให้สำเร็จเถิด.

จบ ธีราเถรีคาถา

7. อัญญตราธีรา1เถรีคาถา


[408] ธีรา ภิกษุณีผู้มีอินทรีย์อันอบรมแล้วด้วย
ธรรมทั้งหลายอันเป็นเครื่องทรง เธอจงชนะมาร
พร้อมด้วยพาหนะแล้วทรงไว้ซึ่งกายอันมีในที่สุด.

จบ อัญญตราธีราเถรีคาถา
1. อรรถกถาเป็น วีรา